บริบทของกลุ่ม

ศึกษาบริบทชุมชนและศักยภาพของกลุ่มผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)

สรุปการลงพื้นที่ ศึกษาบริบทชุมชนและศักยภาพของกลุ่ม

การลงพื้นที่ครั้งที่ ๑ มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลพื้นฐาน และบริบทของชุมชน ทุนทางชุมชนกลุ่มผ้าทอมือบ้านค้างปินใจ เพื่อทราบถึงศักยภาพของกลุ่ม และนำมาออกแบบร่างแนวทางการส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการ ซึ่งอย่างไรก็ตามในด้านสร้างความเข้าใจกับกลุ่มแกนนำของกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง กับการเข้ามาทำโครงการในพื้นที่ หารือร่วมกันสร้างกรอบและขอบเขตการทำงานร่วมกัน โดยมีผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทนสมาชิกกลุ่มทอผ้าที่ยังคงมีในชุมชน พบว่า ประวัติของชุมชนทอผ้ามีมานาน ไม่ได้รับการสืบทอดต่อเนื่องอย่างไร (ปราชญ์ชาวบ้านทอผ้าค้างปินใจ, สัมภาษณ์)

ความเป็นมาของกลุ่ม

จากเรื่องราวของบรรพบุรุษที่อพยพมาจากที่ต่าง ๆ ในเขตพื้นที่ภาคเหนือเข้ามาในพักค้างแรมในพื้นที่บ้านค้างปินใจแล้วพบว่าเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธ์อาหาร และแม่น้ำ จึงได้ทำการอยู่อาศัยเป็นการถาวรกันมาเป็นเวลานาน ส่วนในการทอผ้าเป็นภูมิปัญญาที่ติดตัวมาตั้งบรรพบุรุษและสืบทอดการทอผ้าแบบล้านนากันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งผ้าตีนจก ผ้าสไบ หมอน ย่าม

บ้านค้างปินใจ เป็นหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2098 หรือ 452 ปีมาแล้ว มีนายปินใจเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ตั้งอยู่บริเวณที่ราบเชิงเขา มีลำน้ำแม่พุงไหลผ่านเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค และมีการประกอบอาชีพทำไร่ ทำนาน และทำสวนกันมายาวนานแล้ว บ้านค้างส่วนใหญ่เป็นชาวเขา (กระเหรี่ยง) นับถือศาสนาพุทธ มีประเพณีที่สำคัญของหมู่บ้าน คือ ประเพณีเลี้ยงผีที่ต้องสักการะทุกปี ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2475 ชาวบ้านค้างปินใจก็ร่วมใจกันสร้างวัดขึ้น โดยตั้งชื่อวัดว่า วัดค้างปินใจ

ศึกษาบริบทชุมชนและศักยภาพของกลุ่ม

จากการศึกษาแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือบ้านค้างปินใจ ซึ่งได้เริ่มทำการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการที่จะนำไปสู่แนวทางการพัฒนาความรู้สำหรับผู้ประกอบการกลุ่มผ้าทอมือ  โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีบูรณาการ (Integration Theory) ที่มุ่งเน้นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและผสมผสานความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ในการสร้างศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการใหม่ (Started-up Companies) ให้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อทราบรายละเอียดที่ครอบคลุมทุกด้านของการพัฒนาผู้ประกอบการ จึงใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ในด้านผู้ประกอบการกลุ่มผ้าทอมือ พบว่า ผู้ประกอบการผ้าทอมือบ้านค้างปินใจ ขาดความรู้ในการดำเนินธุรกิจ หรือมีความรู้แต่ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการแข่งขันในปัจจุบันได้ นำไปสู่การสร้างแนวทางการพัฒนาความรู้สำหรับผู้ประกอบการด้านงานฝีมือทอผ้า ที่มีคุณภาพ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

อย่างไรก็ตามด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือนั้น  พบว่า ผ้าตีนจกไท-ยวน เป็นผ้าทอพื้นเมืองซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ของชาวโยนกแห่งเมืองเชียงแสน ที่มีการสืบทอดมาหลายช่วงอายุคน การถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าตีนจน ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำน่าทำไร่ การทอผ้าจึงทำในยามว่าง ซึ่งการทอผ้าอาจกล่าวได้ว่าเป็นภูมิปัญญาการทอผ้าจกที่ติดตัวมา และนำมาใช้ในชุมชน เช่น ทอผ้าซิ่นให้ลูกสาวและทอผ้าขาวม้าให้ลูกชาย ถักกระเป๋าลายจกคาดเอวให้สามี ทอย่ามจกเพื่อถวายภิกษุที่เคารพนับถือ เป็นต้น จะการทอเป็นไปตามโอกาสและฤดูกาล เมื่อใดว่างจากการทำนาทำไรก็จะลงหูกทอผ้า

เมื่อศึกษาสถาพปัญหาการทอผ้าจก พบว่า ปัญหาว่าเมื่อทอผ้าจกได้แล้ว หาที่จำหน่ายไม่ได้ และราคาผ้าตีนจกก็ถูกมาก จึงไม่เกิดแรงจูงใจให้ทำการผลิตเพื่อเป็นอาชีพ ช่างทอที่เคยได้รับการฝึกหัดทอผ้า จึงหันไปประกอบอาชีพอื่น ๆ แทน องค์ความรู้ด้านการทอผ้าตีนจกจึงเริ่มซบเซาลงอีกครั้ง จำนวนคนทอผ้าตีนจกได้ลดน้อยลงเรื่อย ๆ เนื่องจากช่างทอแก่ชราลง และลูกหลานสนใจการผ้าน้อยลง การถ่ายทอดมีแต่เฉพาะในเครือญาติใกล้ชิดเท่านั้น อีกทั้งยังพบว่าคนรุ่นใหม่ไม่ให้ความสำคัญในการผลิตผ้าจก เพราะค่าแรงไม่คุ้มค่า ใช้เวลาผลิตนานปัญหาก็ตามมา เพราะมีพ่อค้าคนกลางเข้ามาในหมู่บ้าน แล้วนำเส้นไหมเส้นด้ายไปจ้างช่างทอตามใต้ถุนบ้านทอผ้าให้ โดยจ่ายค่าจ้างเป็นรายผืน หากทำเสร็จเร็วก็จะได้รับเงินเร็ว ดังนั้นช่างทอที่เริ่มหัดใหม่จะรีบเร่งทอผ้า ทำให้ทอผ้าไม่แน่น อีกทั้งลวดลายก็ไม่ละเอียดอ่อนเหมือนช่างทอผ้าตีนจกรุ่นเก่า ความงดงามของผ้าตีนจกจึงลดน้อยลงไป เพราะไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพมาตรฐาน อีกทั้งไม่รู้จักลวดลาย เรียกชื่อลายของผ้าจกไม่ถูกต้อง คนทอผ้าไหมที่ชำนาญมีน้อยลงและการถ่ายทอดก็มีน้อยขาดการควบคุมคุณภาพมาตรฐาน จากปัญหาดังกล่าว หากต้องการที่จะอนุรักษ์ส่งเสริมศิลปหัตถกรรมการทอผ้าตีนจกให้คงอยู่ต่อไป คณะดำเนินงานจึงเข้าจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพการทอผ้า โดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ในการทอผ้าตีนจกให้แก่กลุ่มคนที่สนใจ เพื่อสร้างช่างทอผ้าตีนจกรุ่นใหม่ขึ้นมาทดแทนช่างรุ่นเก่าที่แก่ชราลง เพื่อสืบทอดอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทอผ้าตีนจกดำรงอยู่ และช่วยสร้างงานสร้างรายได้แก่คนในชุมชนของบ้านค้างปินใจ อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ดังภาพการลงพื้นที่เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และหาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์การทอผ้าบ้านค้างปินใจ อย่างมีส่วนร่วม ดังภาพการลงพื้นที่ครั้ง ที่ ๑